เรียนรู้ วิธีการปลูกพริกไทย พืชเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง

วิธีการปลูกพริกไทย ย้อนอดีตกลับไปมากกว่า 30 ปี วิถีชีวิตของชาวไทยผูกพันกับอาชีพด้านเกษตรกรรมมากที่สุด เพราะภูมิศาสตร์ของไทยที่มีความพร้อมต่อการทำเกษตรกรรม เมื่อวิถีชีวิตของสังคมเปลี่ยนไปเพราะเปิดรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงวัฒนธรรมต่างชาติมากขึ้น อาชีพของคนไทยจึงเปลี่ยนไปโดยชนชั้นรากหญ้านิยมเป็นพนักงานโรงงานมากขึ้น เพราะเงินเดือนที่ได้รับเพียงพอต่อค่าใช้จ่าย และอาชีพเกษตรกรขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล ทำให้ผู้ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรประสบปัญหารอบด้านมากขึ้น แต่คงยังรักษาอาชีพของตนให้ดำรงถึงปัจจุบันได้

ต้นพริกไทย

ขณะนี้คนรุ่นใหม่ก็ผันตัวจากอาชีพเดิมของตนไปเป็นเกษตรกรกันมากขึ้น เพราะค่านิยมเดิม (การเป็นพนักงานบริษัทต่าง ๆ) สร้างความเบื่อหน่ายแก่ชีวิตที่จำเจ และถูกตีกรอบจากสังคมให้ดำเนินรอยตามกัน เกษตรรุ่นใหม่จึงถือกำเนิดและสร้างผลประกอบการที่ดีขึ้นมาก เพราะทุกคนเรียนรู้เทคนิคจากเกษตรรุ่นเก๋าที่ทดลองวิธีการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น นำมาประยุกต์เพื่อผลผลิตของตนจนประสบความสำเร็จ และเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลังเริ่มหันมามองอาชีพเกษตรกรว่า เป็นอาชีพที่เป็นเจ้านายตนเองและสบายใจในการทำงาน

ก่อนการเป็นเกษตรกรต้องศึกษาข้อมูลให้ดีว่าจะเริ่มที่จุดใด เพราะพืชพันธุ์มีจำนวนมหาศาลที่สามารถทำเงินได้ หนึ่งในพืชที่มีผลประกอบการที่ดีต่อการส่งออก ‘พริกไทย’ ส่วนประกอบสำคัญของอาหารไทยและเทศ พืชที่สร้างความเผ็ดร้อนแก่อาหารเพิ่มรสชาติที่ดี และเป็นพืชที่ลงทุนครั้งเดียวก็สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอด ก่อนการลุงทุนต้องศึกษาวิธีปลูกพริกไทยกันก่อน ซึ่งพันธุ์ของพริกไทยที่ปลูกในบ้านเรา แบ่งได้ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์ซาราวัคหรือพันธุ์คุชชิ่ง จากประเทศมาเลเซีย พันธุ์ซีลอนแดง จากประเทศศรีลังกา และพันธุ์ซีลอนยอดขาว พันธุ์ประสมระหว่างพริกไทยอินเดียและซีลอน ซึ่งพันธุ์ซีลอนทั้งสองประเภทนิยมปลูกมากกว่าพันธุ์ซาราวัค เพราะอัตราการเจริญเติบโตของต้นสูงกว่า ผลสดมีขนาดที่ใหญ่กว่าพันธุ์ซาราวัค ส่วน วิธีการปลูกพริกไทย จะปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน คือ

สำรวจสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและเตรียมปลูก

ก่อนการปลูกต้องศึกษาข้อมูลก่อนว่า พริกไทยเป็นพืชที่ควรปลูกบนพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมขัง ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร ความลาดเอียงไม่เกิน 15 องศา หากมากกว่านี้ควรทำเป็นขั้นบันไดเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ประเภทของดินที่ใช้ปลูกพริกไทยซึ่งดีคือ ดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วงเหนียว จุดเด่นคือความอุดมสมบูรณ์ของเนื้อดินและระบายน้ำได้ดี เพราะพริกไทยเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง ค่าความเป็นกรด – ด่างของดินอยู่ระหว่าง 5.5 – 6.5

วิธีการปลูกพริกไทย

มี 2 ลักษณะคือ ปลูกลงดินและปลูกในกระถาง แต่ต้องมีเสาหลักเพราะพริกไทยเป็นไม้เลื้อย ระยะการปลูกระหว่างต้นของพริกไทยแต่ละสายพันธุ์จะแตกต่างกัน ดังนี้

– พันธุ์ซาราวัค ใช้ระยะ 2×2 เมตร

– พันธุ์ซีลอน ใช้ระยะปลูก 2.25 x 2.25 เมตร หรือ 2.25 x 2.5 เมตร

การดูแลรักษาและตกแต่งพริกไทย

นอกจาก วิธีการปลูกพริกไทย ที่ต้องใส่ใจนั้น การดูแลรักษาและการตกแต่งต้นพริกไทยก็ต้องให้ความสำคัญ เพราะการหมั่นดูแลและตัดแต่งกิ่งที่ถูกวิธีจะช่วยเพิ่มผลผลิตของพริกไทยได้มากขึ้น เป็นดั่งการกระตุ้นให้เกิดผลผลิตเพื่อส่งสู่ตลาดทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งวิธีการดูแล รักษา และตกแต่งต้นพริกไทย ให้แบ่งดังนี้

วิธีการปลูกพริกไทย

 

– ปีแรก เมื่อลำต้นเริ่มเกาะกับหลักดีแล้ว ให้ตัดยอดเหลือเพียงยอดสมบูรณ์ราว 4-6 ยอด จากนั้นผูกยอดพริกไทยให้แนบกับค้างโดยผูกเว้นข้อ จนกว่าต้นพริกไทยจะมีอายุ 1 ปี จึงตัดเถาให้เหลือเพียง 50 เซนติเมตรจากระดับผิวดิน

– ปีที่สอง ตัดแต่งกิ่งเหมือนปีแรกจนกว่าพริกไทยจะสูงเลยค้างไปประมาณ 30 เซนติเมตร ให้ผูกไว้บนยอดค้าง และใช้เชือกไนล่อนผูกทับเถาวัลย์เดิมเป็นเปลาะ ๆ ห่างกัน 40-50 เซนติเมตร

– ปีที่ 3 ตัดไหลและปรางบริเวณโคนต้น ปลิดใบที่ลำต้นออก เพื่อให้โคนโปร่ง ถ้าพริกไทยยังไม่ถึงยอดค้าง เด็ดช่อดอกออกให้หมด เพราะจะทำให้พริกไทยเจริญเติบโตช้า

ศัตรูของต้นพริกไทยที่พึงระวัง

การใส่ใจวิธีปลูกพริกไทยซีลอนเพื่อการเพิ่มผลผลิต และเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เหล่าศัตรูของพริกไทยเองก็อันตรายที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของคุณ หากต้นพริกไทยถูกโจมตีแล้ว คุณอาจต้องลงทุนกับต้นพริกไทยและเสียเวลากับการเตรียมความพร้อมกับต้นพริกไทยเพื่อการสร้างผลผลิตเท่าเดิม แมลงศัตรูพืชที่โจมตีพริกไทยเป็นประจำ มีดังต่อไปนี้

“มวนแก้ว” วางไข่เป็นกลุ่ม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้งเป็นสีน้ำตาล ไม่ติดเมล็ด ผลผลิตลดลง ป้องกันโดยการเก็บตัวอ่อนเผาทำลาย และใช้ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ตามคำแนะนำเป็นประจำ ถ้าระบาดรุนแรงฉีดพ่นด้วย ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทาแม็ก อัตราตามฉลากระบุ

“ด้วงงวงเจาะเถาพริกไทย” ตัวอ่อนเจาะทำลายเถาพริกไทย ทำให้เถาแห้งตาย ส่วนตัวเต็มวัยจะกันกินใบและผลพริกไทย ป้องกันโดยเผาทำลาย เถาพริกไทยที่พบรอยเจาะของหนอนด้วงงวง ป้องกันโดยการใช้ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ตามคำแนะนำเป็นประจำ ถ้าเริ่มพบการระบาด ฉีดพ่นด้วย ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทาแม็ก อัตราตามฉลากระบุ

“เพลี้ยอ่อน” ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ทำให้ใบและยอดแคระแกรน บิดงอ ไม่ติดเมล็ด ป้องกันโดยเก็บทำลาย หรือฉีดพ่นด้วย ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทาแม็ก อัตราตามฉลากระบุ

“เพลี้ยแป้ง” ตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ใบ และเถาพริกไทย เพลี้ยแป้งจะขับถ่ายมูลเป็นน้ำหวาน จึงพบว่ามดเป็นตัวพาเพลี้ยแป้งไปปล่อยยังส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช ป้องกันโดยฉีดพ่นด้วย ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทาแม็ก ร่วมกับ สารจับใบเข้มข้น จีแอล และป้องกันมดซึ่งเป็นพาหะด้วยการใช้ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ตามคำแนะนำเป็นประจำ

เพราะพริกไทยเป็นสมุนไพรที่ส่งผลต่อรสชาติของอาหาร และช่วยบำรุงสุขภาพของผู้รับประทาน และเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารหลากหลายเมนูในทุกประเทศทั่วโลก พริกไทยจึงเป็นพืชส่งออกที่สร้างกำไรได้ดี ลงทุนครั้งเดียวคุ้มค่า หากใครที่เบื่อหน่ายกับความจำเจของอาชีพประจำ ที่ทำงานในป่าปูนบนพื้นที่เมืองหลวงของไทยแล้ว การประกอบอาชีพเกษตรกรด้วยการปลูกพริกไทยคงไม่แย่ หากรู้จักประยุกต์ให้เหมาะสม

คลิ๊กอ่านต่อเพิ่มเติม